วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หมู่เลือดโอบอมเบย์


หมู่เลือดโอบอมเบย์มีอะไรที่แตกต่างจากหมู่เลือดโอ  ???? 
         หมู่เลือดตามระบบ ABO จำแนกได้เป็น 4 หมู่ ตามชนิดของแอนติเจนที่พบบนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง  และในส่วนของพลาสมาพบว่ามีแอนติบอดีที่จำเพาะต่อหมู่เลือดอยู่ 2 ชนิด คือ แอนติบอดี A และแอนติบอดี B  คนที่มีเลือดต่างหมู่กันจะมีแอนติเจนและแอนติบอดีแตกต่างกัน
         แอนติเจน H เป็นแอนติเจนที่พบที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นสารต้นกำเนิดของแอนติเจน A และแอนติเจน B โดยที่เอนไซม์ transferase A จะเปลี่ยนแอนติเจน H ให้เป็นแอนติเจน A และเอนไซม์ transferase B จะเปลี่ยนแอนติเจน H ให้เป็นแอนติเจน B ดังนั้นที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของ  หมู่เลือด A จะพบแอนติเจน A และแอนติเจน H ส่วนที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด B จะพบแอนติเจน B และแอนติเจน H และที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด AB จะมีทั้งแอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H และที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด O จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแอนติเจน A หรือแอนติเจน B ได้ เนื่องจากไม่มีเอนไซม์ transferase A หรือ เอนไซม์ transferase B 
ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h
โดยที่ HH และ Hh genotype จะกำหนดให้แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง
         hh genotype จะกำหนดให้ไม่แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง 
           สำหรับหมู่เลือดโอบอมเบย์เป็นหมู่เลือดที่พบครั้งแรกในคนที่อาศัยอยู่ที่บอ มเบย์  ดังนั้นจึงตั้งชื่อหมู่เลือดนี้ตามสถานที่ที่พบ  ครั้งแรก  ซึ่งหมู่เลือดโอบอมเบย์จะมี genotype เป็น hh ดังนั้นจึงพบว่าไม่แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง สามารถสรุปลักษณะของหมู่เลือดต่างๆ ดังตารางดังนี้
 หมู่เลือด
 แอนติเจนที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง
 แอนติบอดีในพลาสมา
 A
 และ H
 B
 B
 และ H
 A
 AB
 และ และ H
 ไม่มี
 O
 แสดงแอนติเจน (ที่ไม่สร้างแอนติเจน และแอนติเจน B)
 และ B
 O- bombay
 ไม่แสดงแอนติเจน H
 และ B
การให้เลือด 
            ผู้ให้และผู้รับควรมีเลือดหมู่เดียวกันจึงจะปลอดภัยที่สุด นั่นคือ เลือดของผู้ให้ต้องไม่มีแอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ เพราะถ้าเลือดของผู้ให้มีแอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผู้รับจะทำให้เซลล์เม็ด เลือดแดงของผู้รับจับตัวกันเป็นกลุ่มตกตะกอนทำให้  เกิดอันตรายแก่ผู้รับ ดังนั้นผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O จะสามารถให้เลือดกับผู้รับที่มีหมู่เลือด A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด O ได้ เรียกว่าเป็น  "universal donors"   สำหรับผู้รับที่มีหมู่เลือด  AB สามารถรับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด  A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด  O ได้  เรียกว่าเป็น "universal receivers"
            สำหรับหมู่เลือด O-bombay พบว่าในประเทศอินเดีย ประชากรจำนวน 10,000 คน จะพบคนที่มีหมู่เลือด O-bombay เพียง 1 คน   ผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O-bombay สามารถให้เลือดกับผู้รับที่มีหมู่เลือด A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด O ได้ซึ่งการให้เลือดไม่แตกต่างจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O แต่ในกรณีที่ผู้รับมีหมู่เลือด O-bombay สามารถรับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O-bombay เท่านั้น ไม่สามารถรับเลือดได้จากผู้ให้ที่มีหมู่ O เนื่องจากว่าที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่แสดงแอนติเจน H
            จากการทดสอบเมื่อนำเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนที่มีหมู่เลือด O-bombay มาทำปฏิกิริยากับแอนติบอดี A หรือ แอนติบอดี B จะไม่เกิดการจับตัวกันเป็นกลุ่มตกตะกอน ซึ่งผลการทดสอบไม่แตกต่างจากคนที่มีหมู่เลือด O ดังนั้นอาจสรุปว่าคนคนนั้นมีหมู่เลือด O แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหมู่เลือด O-bombay ในกรณีนี้จะเป็นอันตรายมากถ้าคนที่มีหมู่เลือด  O-bombay ได้รับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O

ผลกระทบของผู้ที่เป็นกรุ๊ปเลือดนี้ก็คือ 
1.สามารถมีบุตรได้เพียงคนเดียว เพราะการที่มีบุตรคนที่สอง ลูกคนนั้นก็จะได้พิษจากกรุ๊ปเลือดนี้ ทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้
2.เวลามีอุบัตเหตุร้ายแรงสามารถใช้เลือดกรุ๊ปโอ(ปกติ)ได้เพียงครั้งเดียว ถ้ามีอุบัติเหตุอีก ต้องใช้แค่เลือของกรุ๊ปเลือดนี้ได้เท่านั้น และยังหายากมากๆอีกด้วย

กรุ๊ปเลือดนี้ คนที่จะเป็นมีเพียง 1 ใน ล้านเท่านั้น ซึ่งเราก็เป็นกรุ๊ปเลือดนี้แต่พอตรวจอีกที ก็ไม่ใช่ กลายเป็นกรุ๊ปเอซะงั้น ก็โชคดีไป

คนที่เป็นกรุ๊ปเลือดนี้ก็ควรจะลองตรวจอีกที เผื่อไม่ใช่ จะได้สบายใจมากยิ่งขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น